วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขยายความมงคล ๓๘ ข้อ ข้อ ๑-๑๐


ขยายความมงคล  ๓๘ ข้อ 

    ก่อนที่จะขยายความมงคลแต่ละข้อ  ขอให้เรามาทำความรู้จักกับ "มงคล" ก่อนว่ามีความหมายว่าอย่าง
ไร  โดยปกติเมื่อพูดถึงสิ่งที่เป็นมงคล  เรารู้ว่าสิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งดี  แม้คำว่ามงคลในมงคลสูตร  ที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงไว้นี้ก็มีความหมายในด้านดี  คือมีความหมายว่าเหตุแห่งความสำเร็จ  เหตุแห่งความเจริญ  เหตุแห่ง (การได้)
สมบัติทั้งปวง  คำว่า  "อุดม"  ได้แก่ วิเศษ  ประเสริฐ  สูงสุด  เพราะฉะนั้นคำว่า  อุดมมงคล  จึงหมายถึงเหตุ
แห่งความสำเร็จอันวิเศษ  เหตุแห่งความสำเร็จอันสูงสุด  เหตุแห่งการได้สมบัติอันพิเศษสูงสุด ผู้ที่ประพฤติตามมงคล
ทั้ง  ๓๘ ข้อ   แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ยังได้ชื่อว่าได้ประพฤติเหตุแห่งความสำเร็จอันสูงสุด  นำประโยชน์และความสุข
มาให้ตนเองและผู้อื่น  จะป่วยการกล่าวไปไยถึงผู้ที่ประพฤติมงคลได้มากข้อ   หรือได้ครบทั้ง  ๓๘  ข้อ  ว่าจะได้รับ
ประโยชน์สุขสูงสุดเพียงไหน
    คนในโลกนี้มี    ประเภท  คือคนเลวกับคนดี  คนเลวเปรียบได้กับคนพาล  คนดีเปรียบได้กับบัณฑิต 
พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบคนเลวหรือคนพาล  แต่ให้คบกับคนดีหรือบัณฑิต

๑.  การไม่คบคนพาล 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๑  การไม่คบคนพาล  เป็นอุดมมงคล  พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของคนพาล 
คือคนไม่ดี  คนโง่  คนชั่ว  ไว้  ๓ ประการคือ  ทำชั่ว  พูดชั่ว  คิดชั่ว

    ทำชั่ว  คือ  การกระทำชั่วทางกาย  มีการฆ่าสัตว์ ๑  ลักทรัพย์ ๑  ประพฤติผิดในกาม ( คือประพฤติ
ผิดประเวณี ) ๑
    พูดชั่ว  คือ  การกระทำชั่วทางวาจา  มีการพูดเท็จ ๑  การพูดส่อเสียด ๑  การพูดคำหยาบ ๑  การพูด
เพ้อเจ้อ  เหลวไหล ไร้สาระ 
    คิดชั่ว  คือ  การกระทำชั่วทางใจ  มีการคิดอยากได้ของของผู้อื่นมาเป็นของตน ๑  การคิดพยาบาท
ปองร้ายให้ผู้อื่นพินาศ ๑  คิดวิปริตเป็นมิจฉาทิฏฐิ  เช่นเห็นว่าการกระทำบุญ  การกระทำบาปไม่มีผล เป็นต้น ๑

    รวมความว่าคนพาลคือคนที่ทำชั่วทางกาย ๓  ทางวาจา ๔  ทางใจ ๓  อันได้แก่ ทุจริตกรรม ๑๐ หรือ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง  คนพาลที่มีความประพฤติอย่างนี้  พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้คบหาเข้าใกล้ 
เพราะเมื่อคบหาเข้าใกล้ชิดสนิทสนมด้วย  ก็จะทำให้เรามีใจโน้มเอียงคล้อยตาม  ยินดีชอบใจในการกระทำของ
เขา  เอาอย่างเขา  อันจะเป็นเหตุให้เรากลายเป็นคนพาลไปด้วย   คนพาลจึงเปรียบเหมือนปลาเน่า   ใบไม้นั้นก็
พลอยเหม็นเน่าไปด้วย  เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรคบคนพาล  ไม่ควรฟังคำพูดของคนพาล ไม่ควรอยู่ร่วมกับคนพาล 
ไม่ควรเจรจาปราศรัยกับคนพาล  ไม่ควรชอบใจความประพฤติของคนพาล   เพราะคนพาลนำมาแต่ความพินาศ
เพียงประการเดียว  เหมือนพระเจ้าอชาตศัตรูต้องฆ่าพระราชบิดา  และเสื่อมจากมรรคผลก็เพราะคบหาคนพาล
คือพระเทวทัต

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิติเตียนการคบคนพาลว่า  มีโทษนานาประการดังกล่าวนี้แล้ว  บัดนี้เมื่อ
จะทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต  จึงตรัสว่า  การคบบัณฑิตเป็นอุดมมงคล

๒.  การคบบัณฑิต 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๒  การคบบัณฑิตเป็นอุดมมงคล  พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของบัณฑิต  คือ
นักปราชญ์ ผู้รู้ ผู้ฉลาด  ไว้  ๓ ประการคือ  ทำดี  พูดดี  คิดดี  อันเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคนพาลโดยแท้

    ทำดี  คือ  การกระทำดีทางกาย ๓  มีการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์    งดเว้นจากการลักทรัพย์   
งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 
    พูดดี  คือ  การกระทำดีทางวาจา ๔  มีการงดเว้นจากการพูดเท็จ    งดเว้นจากการพูดส่อเสียด   
งดเว้นจากการพูดคำหยาบ    งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ  เหลวไหลไร้สาระ 
    คิดดี  คือ  การกระทำดีทางใจ    มีการไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ๑   การไม่คิด
พยาบาทปองร้ายให้ผู้อื่นพินาศ ๑  มีความคิดไม่วิปริตเป็นสัมมาทิฏฐิ  เช่นเห็นว่าการกระทำบุญการกระทำบาป
มีผล  เป็นต้น ๑

    รวมความว่าบัณฑิต   คือคนที่ทำดีทางกาย    ทางวาจา    ทางใจ    อันเป็นสุจริตกรรม ๑๐  หรือ
กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง  บัณฑิตที่มีความประพฤติดังกล่าวนี้นี่แหละที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คบหาเข้า
ใกล้สนิทสนมด้วย  เพราะจะทำให้เรามีใจโน้มน้อม  คล้อยตาม   ยินดีชื่นชมในความประพฤติของเขา   เอาเยี่ยง
อย่างเขา  อันจะทำให้เราเป็นบัณฑิตไปด้วย  เนื่องด้วยบัณฑิตย่อมชักนำให้เราทำแต่สิ่งดีมีประโยชน์เหมือนท่าน 
บัณฑิตจึงเปรียบเหมือนของหอม  มีไม้จันทน์หอม  เป็นต้น  เมื่อเอาผ้าไปห่อไม้จันทน์หอม  ผ้าที่ห่อก็พลอยหอม
ไปด้วย

    พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์ทรงเป็นบัณฑิต  ผู้ที่ได้คบหาเข้าใกล้พระองค์  และสาวกของ
พระองค์จึงได้รับประโยชน์สุขอันยิ่งใหญ่  เพราะพระองค์ทรงสอน ให้ทำ ให้พูด ให้คิด  แต่สิ่งดีมีสาระประโยชน์ 
พระองค์และสาวกของพระองค์จึงเป็นที่ชื่นชมยกย่องสรรเสริญของคนทั่วไป  ใครๆ  ก็อยากเข้าใกล้   คบหาสมา
คมด้วย

    นอกจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์จะได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตแล้ว  แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า
ตลอดจนผู้ที่มีลักษณะของบัณฑิต ๓ ประการดังกล่าวแล้ว  ล้วนได้ชื่อว่าบัณฑิตทั้งสิ้น

    บัณฑิตเหล่านั้น  เป็นผู้สามารถกำจัดอุปัทวะภัยและอุปสรรคทั้งปวงให้แก่ผู้ที่ทำตามคำของบัณฑิตได้ 
บุคคลที่อาศัยบัณฑิตแล้ว  ย่อมสามารถเข้าถึงสรณคมน์  เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์  เข้าถึงมรรคผลนิพพานได้

๓.  บูชาบุคคลที่ควรบูชา 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๓  บูชาบุคคลที่ควรบูชาเป็นอุดมมงคล  คำว่าบูชานั้นหมายถึงการแสดงความ
เคารพนับถือ  ก็การบูชานั้นมี    อย่างคือ

    อามิสบูชา  การบูชาด้วยอามิสคือ  สิ่งของเครื่องล่อใจ  มีเงินทอง  ดอกไม้  ของหอม  เป็นต้น
    ปฏิบัติบูชา  การบูชาด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  มีการเข้าถึงไตรสรณคมน์  รักษาศีล ๕  ศีล ๘  ศีล
อุโบสถ  เจริญสมถะและวิปัสสนา  การศึกษาพระธรรมวินัย  เป็นต้น

    การบูชานั้นเราบูชาบุคคล ๑  บูชาคุณงามความดี ๑

    ในการบูชาบุคคลนั้นท่านแบ่งบุคคลออกเป็น ๓ พวก  คือ  บุคคลที่สูงด้วยชาติ (ชาติวุฒิ)  คือมีกำเนิด
สูง  เช่น  พระราชา  พระราชินี  พระโอรส  พระธิดา  เป็นต้น ๑  บูชาบุคคลที่สูงด้วยวัย (วัยวุฒิ)  คือผู้ที่เกิดก่อน
เรา  เช่น  ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่  เป็นต้น ๑  บูชาบุคคลที่สูงด้วยคุณ (คุณวุฒิ)  มีครู อาจารย์  ภิกษุ สามเณร  พระ
อริยเจ้าทั้งหลาย  พระปัจเจกพุทธเจ้า  พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในบุคคล    จำพวกนี้  เราสามารถจะบูชาท่านได้ทั้งอามิสบูชา  และปฏิบัติบูชา

    ส่วนการบูชาคุณงามความดีนั้น  หมายถึงบูชาคุณธรรมมีศีล  เป็นต้น  โดยไม่คำนึงบุคคลที่ประกอบ
ด้วยคุณธรรมเหล่านั้น  มีภิกษุสามเณร  เป็นต้น  ว่าเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ  หรือสกุลสูง  อายุน้อยหรือมาก  ท่าน
เหล่านั้นสมควรที่เราจะให้ความนับถือบูชาทั้งสิ้น  ผู้ที่บูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงเป็นอุดมมงคลประการหนึ่ง

๔.  การอยู่ในประเทศที่สมควร 

    ขยายความมงคลข้อที่ ๔  การอยู่ในประเทศที่สมควรเป็นอุดมมงคล  คืออยู่ในถิ่นที่สมควร  ประเทศ
ที่สมควรนั้น  คือประเทศที่เป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์  อุบาสกและอุบาสิกาของพระพุทธเจ้า 
ผู้ที่อยู่ในประเทศที่สมควรเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุดมมงคล  เพราะเป็นถิ่นที่ให้บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐ ประการ  มีทานเป็นต้น 
กับเป็นเหตุให้ได้อนุตตริยะ    ประการมีทัสสนานุตตริยะ  การเห็นที่ยอดเยี่ยม เป็นต้น  ผู้ที่อยู่ในประเทศที่สมควร
เช่นนี้  จึงเป็นอุดมมงคล  เพราะสามารถที่จะบำเพ็ญบุญกุศลให้สมบูรณ์  จนถึงมรรคผลนิพพานได้

    อย่างคนที่เกิดอยู่ในประเทศไทย  ก็จัดว่าอยู่ในประเทศที่สมควรเช่นกัน  เพราะเรายังสามารถบำเพ็ญ
กุศลได้ทุกอย่าง  ในเมื่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกของพระองค์ยังคงอยู่ครบบริบูรณ์

๕.  การได้กระทำบุญไว้ในปางก่อน 

    ขยายความมงคลข้อที่ ๕  การได้กระทำบุญไว้แล้วปางก่อน  ก็จัดเป็นมงคลอีกประการหนึ่ง  เพราะผู้
ที่จะบำเพ็ญกุศลให้สมบูรณ์ได้นั้นต้องอาศัยความที่ตนได้เคยทำบุญไว้ในอดีตชาติ  มาช่วยส่งเสริมสนับสนุนทั้งสิ้น 
โดยเฉพาะผู้ที่จะได้บรรลุคุณวิเศษเป็นพระอริยบุคคลในชาตินี้นั้น  ยิ่งต้องอาศัยบุญ  คือ  การอบรมเจริญภาวนาใน
ชาติก่อนๆ   มาเป็นปัจจัยสนับสนุนทั้งสิ้น   ขาดบุญในอดีตแล้วไม่อาจสำเร็จได้เลย   แม้พระพุทธเจ้ากว่าที่จะได้
สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้  ก็ต้องอาศัยบุญบารมีที่สร้างสมมานานถึง ๔ อสงไขยแสนกัป  มาเป็นเครื่องสนับสนุน
จึงสำเร็จ  การกระทำบุญไว้แล้วในปางก่อนจึงเป็นอุดมมงคล

๖.  การตั้งตนไว้ชอบ 

    ขยายความมงคลข้อที่ ๖  การตั้งตนไว้ชอบ  ก็เป็นอุดมมงคล  ผู้ที่ปรารถนาความดีงาม  และความสำ
เร็จในชาตินี้และชาติหน้า  มีการเกิดในสุคติโลกสวรรค์   และบรรลุมรรค ผล นิพพาน  ย่อมตั้งตนไว้ชอบ  ประกอบ
แต่สุจริตธรรม  สัมมาปฏิบัติ  มีศรัทธาเลื่อมใส  เจริญทาน  ศีล  ภาวนา  อยู่เป็นนิตย์  เพราะฉะนั้นผู้ที่ตั้งตนไว้ชอบ 
ก็คือผู้ที่ตั้งตนอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลายนั่นเอง  การตั้งตนไว้ชอบจึงเป็นอุดมมงคลเพราะเป็นเหตุให้พ้นอบาย  และ
สำเร็จมรรค ผล นิพพาน  ดังเรื่องของโจรห้าร้อย  ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่เที่ยวโจรกรรม  ดักปล้น
ชาวบ้านเลี้ยงชีวิต ต่อมาชนทั้งหลายเป็นอันมากรวมตัวกันจะจับโจร  พวกโจรก็หนีเข้าป่าไป  เมื่อเข้าไปในป่าได้พบ
ภิกษุรูปหนึ่ง  จึงเข้าไปนมัสการวิงวอนขอให้ท่านช่วย  ภิกษุรูปนั้นก็บอกให้รักษาศีล  เพราะศีลเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
ในโลกหน้า  โจรทั้งหมดก็พากันยินดีรับศีลจากภิกษุรูปนั้น  แล้วพากันลาไป  ชาวบ้านทั้งหลายติดตามมาทัน  จึงช่วย
กันฆ่าโจรตายหมด  ด้วยอานิสงส์แห่งศีลที่พวกโจรรักษา  ตายแล้วได้บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานทองงดงาม
มีนางฟ้าหนึ่งพันเป็นบริวาร  ได้เสร็จสุขอยู่ในวิมานนั้น  นี่ก็เพราะการตั้งตนไว้ในศีล   ในเวลาใกล้ตาย   การตั้งตนไว้
ชอบ  จึงเป็นอุดมมงคลอย่างนี้

๗.  การสดับตรับฟังมาก 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๗  การได้สดับตรับฟังมาก  เป็นอุดมมงคล   ผู้ที่สดับตรับฟังคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า  มีพระสูตรเป็นต้น  เล่าเรียนศึกษาพระธรรมวินัย  ทรงจำไว้ได้  ชื่อว่าเป็น  พหูสูต  หรือ  พาหุสัจจะ 
ผู้ที่มีพาหุสัจจะมากย่อมละอกุศล  เจริญกุศล  ละสิ่งที่มีโทษ  เจริญสิ่งที่ไม่มีโทษ  ทำให้แจ้งปรมัตถสัจจะ  ได้ใน
ที่สุดด้วยปัญญา  แม้การฟังเรื่องราวที่ไม่มีโทษของชาวโลก  ก็จัดว่าเป็นมงคลเช่นกัน  เพราะเป็นประโยชน์เกื้อ
กูลทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    ในสมัยพุทธกาล   พระอานนท์ได้ชื่อว่าเป็นผู้สดับตรับฟังมากที่สุด   ทั้งทรงจำไว้ได้ทั้งหมด   ท่านจึง
เป็นกำลังสำคัญในการทำสังคายนาครั้งแรก  ที่มีท่านพระมหากัสสปเป็นประธาน  หากขาดท่านพระอานนท์เสีย
แล้ว   พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้  คงจะไม่สมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน  ให้เราผู้เป็นอนุชนคนรุ่น
หลังได้ศึกษาและปฏิบัติตามเป็นแน่  ด้วยเหตุนี้พาหุสัจจะ  การสดับตรับฟังมา  จึงเป็นอุดมมงคลอีกประการหนึ่ง


๘.  การศึกษาศิลปะ 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๘  การศึกษาศิลปะเป็นอุดมมงคล  ผู้ที่มีศิลปะคือผู้ที่มีฝีมือ  ไม่ว่าจะมีฝีมือ
ในการเป็นช่างเงิน ช่างทอง เป็นช่างตัดเย็บจีวรเป็นต้น  ชื่อว่าอุดมมงคล  ขึ้นชื่อว่าศิลปะไม่ว่าจะเป็นของคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต  หากเป็นศิลปะที่ไม่มีโทษแล้ว  ชื่อว่าเป็นอุดมมงคลทั้งสิ้น  เพราะนำความสุขความเจริญมาให้ทั้ง
โลกนี้และโลกหน้า  ทั้งเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย

๙.  วินัยที่ศึกษาดีแล้ว 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๙  ความเป็นผู้มีวินัย  เป็นอุดมมงคล  คำว่าวินัยนั้นแปลว่านำออก  คือนำโทษ
ทางกาย  ทางวาจา  ทางใจออกไป  ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ประพฤติสุจริตกรรม  เว้นทุจริตกรรม  จึงชื่อว่ามีวินัย  เพราะนำ
โทษที่เป็นทุจริตทางกาย  ทางวาจา  ทางใจ  ออกไป

    วินัยแบ่งออกเป็น    อย่างคือวินัยของคฤหัสถ์ ๑  และวินัยของบรรพชิต ๑  การงดเว้นจากอกุศล
กรรมบถ ๑๐ ประการ  ชื่อว่าวินัยของคฤหัสถ์  การไม่ต้องอาบัติ    กองมีปาราชิก ๑  สังฆาทิเสส ๑  ถุลลัจจัย ๑ 
ปาจิตตีย์ ๑  ปาฏิเทสนียะ ๑  ทุกกฏ ๑  และทุพภาษิต ๑ ชื่อว่าวินัยของบรรพชิต  แม้ปาริสุทธิศีล    มีปาติ
โมกขสังวรศีล ๑  อินทรียสังวรศีล ๑  อาชีวปาริสุทธิศีล ๑  ปัจจยสันนิสิตศีล ๑  ก็ชื่อว่าวินัยของบรรพชิต

    คฤหัสถ์ที่มีวินัยของคฤหัสถ์ย่อมพ้นอบาย  บรรพชิตที่มีวินัยของบรรพชิตย่อมพ้นอบายด้วย ย่อมบรรลุ
มรรค ผล นิพพานด้วย  เพราะฉะนั้นความเป็นผู้มีวินัยจึงเป็นอุดมมงคล

๑๐.  วาจาสุภาษิต 
    ขยายความมงคลข้อที่ ๑๐  วาจาสุภาษิตเป็นอุดมมงคล  วาจาสุภาษิตคือวาจาที่กล่าวดีแล้ว  เป็นวาจา
ที่เป็นไม่มีโทษ  ประกอบด้วยธรรม  เป็นวาจาที่เป็นที่รัก เป็นวาจาจริงไม่เท็จ ไม่ส่อเสียด ไม่เหลวไหล  เพ้อเจ้อ 
แม้วาจาที่แสดงธรรมแก่ผู้อื่นด้วยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง  ก็ชื่อว่าเป็นวาจาสุภาษิต  เพราะเป็นปัจจัยให้ผู้ฟังได้รับ
ความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า  อีกทั้งยังอาจให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน  อีกโสดหนึ่งด้วย

    วาจาที่เป็นทุพภาษิตนั้นตรงกันข้ามกับวาจาสุภาษิต  มีโทษมาก  สามารถนำไปเกิดในอบายได้เหมือน
เรื่องนี้

    ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระเถระ    รูปอยู่ในอาวาสเดียวกัน  รักใคร่กันดุจพี่น้อง 
ทั้งมีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม  ต่อมามีพระธรรมกถึกรูปหนึ่งมาพักอยู่ที่อาวาสนั้น  เห็นภิกษุ    รูปนั้นมีลาภมาก  ก็
คิดริษยา  กล่าววาจายุยงให้พระเถระ    รูปนั้นแตกกัน  ออกจากอาวาสนั้น  แยกกันไปคนละทาง  พระธรรมกถึก
รูปนั้นก็ได้เป็นเจ้าอาวาส  ได้รับลาภสักการะเป็นอันมาก  ต่อมาพระเถระ ๒ รูปนั้นได้กลับมาพบกันที่วิหารแห่งหนึ่ง 
ไต่ถามกันทราบความจริงแล้วจึงกลับไปยังอาวาสเดิม  ขับไล่ภิกษุผู้ริษยานั้นออกไป  ภิกษุผู้ริษยานั้นเมื่อแตกกาย
ตายไป   บังเกิดในอเวจีมหานรก  ได้เสวยทุกขเวทนากล้า  เป็นเวลาช้านานตลอดพุทธันดร   มาในสมัยของพระ
พุทธเจ้าของเรานี้ได้พ้นจากอเวจีมหานรก  มาเกิดเป็นเปรตสุกร อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ มีร่างกายใหญ่โตเหมือนมนุษย์ 
แต่มีศีรษะเป็นสุกร  มีหางงอกออกจากปาก  มีหมู่หนอนไหลออกจากปาก  ด้วยอำนาจของการกล่าววาจาส่อเสียด 
ไม่มีความจริง  เป็นทุพภาษิต

    เพราะฉะนั้นจึงควรงดวาจาทุพภาษิต  กล่าวแต่วาจาสุภาษิต  อันเป็นอุดมมงคล  แล้วท่านก็จะได้พบ
กับความสุขและความเจริญตลอดไป

http://www.96rangjai.com/merit/sacredlife.html#28