วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เกลียดพวกทุจริตคอรัปชั่น..บ่อนทำลายประเทศชา่ติ



    
      ............รูปแบบของการทุจริตคอรัปชั่น รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนในปัจจุบัน
            การทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทยหากดูจากภาพลักษณ์การคอรัปชั่น (Corruption perception index) ที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสระว่างประเทศ (Transparency International) สำรวจจากทัศนะหรือการมองภาพจากกลุ่มนักธุรกิจและประชาชนนทั่วไปเป็นประจำทุกปี ก็อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่เพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ มาเลเซีย อย่างสม่ำเสมอไม่เปลี่ยนแปลงนัก เช่น ปี พ.ศ.2545 ไทยได้คะแนน 3.2 (จากคะแนนเต็ม 10) อยู่ในลำดับที่ 64 จากประเทศทั้งหมด ในปี พ.ศ.2548 ไทยได้คะแนน 3.8 อยู่ในลำดับที่ 61 เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ไทยมีภาพลักษณ์การคอรัปชั่นค่อนข้างสูง แต่ที่คะแนนและลำดับดีขึ้นนิดหน่อยในช่วงปี พ.ศ.2545-2548 เพราะดัชนีนี้วัดเรื่องการคอรัปชั่แบบเก่า เช่น รับสินบน ไม่ได้ครอบคลุมเรื่องปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนที่นักธุรกิจอาจจะไม่ค่อยสนใจ หรือไม่ได้ตระหนักรับรู้มากขึ้น ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทยทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ ส่วนใหญ่เกิดมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีลักษณะผูกขาดอำนาจอยู่ในมือคนกลุ่มน้อยที่มีทั้งทุนความรู้ อำนาจทางการเมือง อำนาจในการครอบงำข้อมูลข่าวสาร ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน การศึกษาต่ำ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่ำ อยู่อย่างกระจัดกระจาย มีการรวมตัวกันน้อย รวมทั้งประเทศไทยมีวัฒนธรรมแบบเล่นพรรคเล่นพวก เป็นผู้ชอบอยู่ใต้ความอุปถัมภ์ หวังพึงพาคนที่รวยกว่า หรือมีอำนาจมากกว่าที่ให้มาช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องๆ ให้กับตนได้ มากกว่าที่จะเข้าใจเรื่องสิทธิหน้าที่ของพลเมืองและความเป็นธรรมในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การแสวงหาผลประโยชน์ของผู้มีอำนาจหากรู้จักแบ่งให้ผู้อยู่ให้อุปถัมภ์ด้วยมักถูกถือว่าเป็นเรื่องปกติ
แม้ประเทศไทยจะมีปัญญาชนผู้มีการศึกษาจำนวนหนึ่งที่น่าจะรู้เท่าทันนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นได้พอสมควร แต่ส่วนใหญ่พวกเขามักจะมีท่าทีแบบมุ่งทำงานเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนตนมากกว่าที่จะเป็นพลเมืองดีที่สนใจการมีบทบาททางการเมือง เช่น การตรวจสอบรัฐบาล คนชั้นกลางไทยที่คิดในเชิงมุ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจส่วนตน มักจะใช้แนวคิดว่า นักการเมืองก็มักโกงกันทุกฝ่าย ดังนั้นหากใครโกง แล้วทำงานเก่ง ทำให้เศรษฐกิจโตก็ถือว่าพอรับได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างการสำรวจทัศนคติของประชาชน โดยสถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2548 พบว่า คนไทยมีความอดทนต่อการทุจริตคอรัปชั่นเพิ่มมากขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2544 โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม 32.8% ตอบว่า สามารถทนต่อปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลได้ โดยอ้างว่า เพื่อให้งานลุล่วงต่อไปได้
นี่ขนาดเป็นการทุจริตคอรัปชั่นรูปแบบที่พอเห็นได้ชัด แต่ถ้าเป็นรูปแบบการหาผลประโยช์ทับซ้อน ที่ไม่ผิดกฏหมายและเห็นได้ยาก ประชาชนไทยยังไม่ตระหนักหรือไม่ถือว่า เป็นการทุจริตคอรัปชั่นด้วยซ้ำ การขาดความรู้และความตระหนักว่า ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทำให้ประเทศชาติสมัยใหม่เสียหายอย่างไร มีส่วนส่งเสริมให้ปัญหาการคอรัปชั่นในประเทศไทยขยายตัวได้มากขึ้น เพราะภาคประชาชนอ่อนแอ ขณะที่ภาคนักธุรกิจการเมืองทีมีอำนาจเข้มแข็งขึ้น ทั้งอำนาจทางธุรกิจ อำนาจทางความรู้ และสามารถหาประโยชน์อย่าพลิกแพลงรูปแบบต่างๆมากมาย
รูปแบบของการทุจริตคอรัปชั่น รวมทั้งผลประโยชน์ทับซ้อนในปัจจุบัน มีอย่างน้อยที่สุด 15 แบบ คือ
1. การแสวงหค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น การผูกขาด การให้สัมปทาน และการเรียกเก็บส่วนแบ่งอย่างผิดกฎหมาย โดยการสร้างการขาดแคลนเทียม เช่น ปัญหาการขาดแคลนน้ำตาล
2. เครพโตเครซี (Kleptocracy ) เป็นการฉกฉวยทรัพยากรของรัฐมาเป็นของครอบครัวและอาจกระทำโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
3. การมีผลประโยชน์ทับซ้อน สถานการณ์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลได้ผลเสียส่วนตัว และผลดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ หรือการกระทำหน้าที่โดยขาดความเที่ยงธรรม
4. การใช้อิทธิพลทางการเมืองหาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ (ปั่นราคาหุ้นตัวเอง)
5. ปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง การปิดบังข้อมูลและให้การเท็จ เช่น การทุจริตกรณีลำไยและกล้ายาง
6. การใช้นโยบาย กฏหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่างๆอย่างมีอคติและลำเอียง (เช่น กรณี CTX และการตรวจสอบคุณภาพข้าว)
7. การใช้อิทธิพลทางการค้า แสดงบทบาทเป็นนายหน้าหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากกาค้าต่างตอบแทน การแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้า เช่น การแลกไก่กับเครื่องบินรบของรัสเซีย
8. การใช้ทรัพยากรของรัฐไปในทางมิชอบ การปลอมแปลงเอกสาร การฉ้อฉล การใช้กองทุนของรัฐ ไปเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น การใช้ธนาคารของรัฐในโครงการประชานิยม
9. ไม่กระทำการตามหน้าที่แบบตรงไปตรงมา แต่ใช้ลัทธิพรรคพวกแทน เช่น การจัดฮั้วประมูล
10. การให้และการรับสินบน การขู่เข็ญบังคับและการให่สิ่งล่อใจ
11. การยอมรับของขวัญที่ไม่ถูกต้อง เช่น เช็คของขวัญมูลค่าสูง และสินบนมูลค่าสูง
12. ผู้บริหารประเทศทำตัวเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ของประเทศ ดดยการใช้นโยบายประชานิยม (นักการเมืองให้เงินทอง หรือสิ่งของของรัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้รับการสนับสนุนจากประชาชน)
13. ใช้อำนาจของตำรวจ ทหาร และข้าราชการในทางที่ผิด (ข่มขู่ คุกคามและทำร้ายให้เกิดความเกรงกลัวในการชุมนุมประท้วงนโยบายรัฐบาลและในการเลือกตั้ง)
14. ทุจริตการเลือกตั้ง ทั้งการซื้อเสียงและการทุจริตด้วยวิธีการต่างๆ
15. การบริจาคเพื่อช่วยเหลือการรณรงค์ที่ผิดกฎหมาย (การบริจาคให้แก่นักการเมืองและพรรคการเมืองรัฐบาล เพือที่จะมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายและการออกกฎหมายของรัฐบาล) (สังศิต พิริยะรังสรรค์. คอรัปชั่นที่คุณทักษิณไม่เคยรู้จัก , กรุงเทพธุรกิจ. 12 มกราคม 2549.)

ที่มา นโยบายรัฐบาลด้านเศรษฐกิจ
 :
การทับซ้อนของผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Conflict of Interest)
วิทยากร เชียงกูล
ISBN 974-449-285-6