วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขยายความมงคล ๓๘ ข้อ ๑๑-๑๕


๑๑.  การบำรุงมารดา   ๑๒.  การบำรุงบิดา 

    ขยายความมงคลข้อที่ ๑๑  การบำรุงมารดาเป็นอุดมมงคล  และ  ๑๒  การบำรุงบิดา  เป็นอุดมมงคล 
ในอรรถกถาท่านแยกการบำรุงมารดาออกจากการบำรุงบิดา  เพื่อให้ครบมงคล  ๓๘  แต่ตามความเป็นจริงแล้ว 
บุตรพึงบำรุงมารดาบิดาให้เป็นสุขเท่าเทียมกัน  เพราะมารดาบิดาเป็นผู้ให้ชีวิตแก่บุตร  ให้บุตรได้มีโอกาสเกิด
มาดูโลกนี้  ถ้าปราศจากมารดาบิดาแล้ว  บุตรจะมีโอกาสเกิดขึ้นมาดูโลกนี้ได้อย่างไร  เพียงเท่านี้ก็นับว่าท่านทั้ง
สองมีบุญคุณแก่ลูกอย่างล้นเหลือแล้ว  ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงการให้การอุ้มชู  อุปการะ  เลี้ยงดู  ป้อนนม  ป้อนข้าว 
ป้อนน้ำ  มาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่  อบรมสั่งสอนให้เป็นคนดี  ให้มีการศึกษา  มีการงานเป็นหลักฐาน  ช่วยตนเอง
ได้  บางครั้งก็ยังหาสามีและภรรยาที่เหมาะสมให้ด้วย  เพียงเท่านี้ก็นับเป็นพระคุณล้นฟ้า   ยากที่ลูกจะตอบแทน
คุณได้หมด  ยิ่งกว่านั้นบางท่านยังต้องเลี้ยงดูหลานๆ  อันเป็นลูกของลูกชายลูกหญิงของท่านอีกด้วย

    พระพุทธองค์ตรัสว่า  การที่บุตรจะตอบแทนบุญคุณของมารดาบิดา  นั้นไม่ใช่ง่าย  คือ  ยากที่จะตอบ
แทนให้หมดสิ้นได้  หากว่าจะประคองมารดาไว้บนบ่าข้างหนึ่ง  ประคองบิดาไว้บนบ่าอีกข้างหนึ่ง  ตลอดเวลา 
๑๐๐  ปีที่ลูกมีชีวิตอยู่  ปรนนิบัติท่านด้วยความรัก  ความเอาใจใส่  ยอมให้มารดาบิดาถ่ายอุจจาระปัสสาวะบน
บ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ  ถึงกระนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย  หรือ
แม้บุตรจะสถาปนาแต่งตั้งมารดาบิดาไว้ในตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิ   เป็นใหญ่ในแผ่นดิน   บุตรก็ยังไม่ได้ชื่อ
ว่าทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย   เพราะมารดาบิดามีอุปการะมากแก่บุตร   แต่ถ้าบุตรคนใดได้กระทำ
มารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา  ให้มีศรัทธา  ไม่มีศีล  ให้มีศีล  ไม่มีจาคะ  ให้มีจาคะ  ไม่มีปัญญา  ให้มีปัญญา  การ
กระทำอย่างนี้เท่านั้นจึงจะได้ชื่อว่า  บุตรได้ทำตอบแทนมารดาบิดาแล้วอย่างแท้จริง

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า  มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร  เพราะประกอบไปด้วยคุณธรรมของพรหม 
คือเมตตา  กรุณา  มุทิตา  และอุเบกขา

    มารดาบิดาเป็นบุรพเทพ  คือเป็นเทวดาก่อนกว่าเทวดาทั้งปวง  ก็เทวดาหรือเทพนั้นมี    พวกคือ 
สมมติเทพ  เทวดาโดยสมมติ  ได้แก่พระราชา  พระราชินี  พระราชโอรส  และพระราชธิดา ๑  อุปปัตติเทพ 
เทวดาโดยอุบัติ  คือเกิดป็นเทวดาโดยกำเนิดในเทวโลก    ชั้นมีจาตุมหาราชิกา  เป็นต้น  กับพรหมโลกอีก 
๒๐  ชั้นรวมเป็น  ๒๖ ชั้นที่จัดเป็นเทวดาโดยกำเนิด ๑  วิสุทธิเทพ  เทวดาผู้บริสุทธิ์หมดจดจากอาสวะกิเลส
ทั้งปวงซึ่งได้แก่พระอรหันตขีณาสพพวกเดียวอีก ๑

    วิสุทธิเทพคือพระอรหันต์นั้นประเสริฐกว่าเทวดาทั้งปวง  เพราะปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนทั้ง
ปวง  เป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหาร ๔  ควรแก่การเคารพสักการะบูชา  มารดาบิดาก็เช่นกัน  เป็นเทวดาประจำ
บ้าน  ที่บุตรควรให้ความเคารพสักการะก่อนผู้อื่น  ด้วยเหตุนั้นมารดาบิดาจึงชื่อว่าบุรพเทพหรือบุรพเทวดา  คือ
เป็นเทวดาก่อนกว่าเทวดาทั้งปวง  บุตรรู้จักเทพอย่างอื่นได้   ก็เพราะรู้จักบุรพเทพ  คือมารดาบิดาก่อนนั่นเอง 
เทวดาประเภทอื่นจึงชื่อว่า  มาทีหลังมารดาบิดา

    มารดาบิดาชื่อว่าบุรพาจารย์  เพราะเป็นครู  เป็นอาจารย์ก่อนกว่าครูอาจารย์ทั้งปวง  เริ่มแต่ลูกยังเล็ก
ก็สอนให้รู้จัก  พ่อแม่  พี่ ป้า น้า อา  สิ่งโน้นสิ่งนี้  ชื่อโน้นชื่อนี้  คนโน้นคนนี้  ตลอดจนแนะนำสั่งสอนในสิ่งที่ควรรู้ 
ควรทำและไม่ควรทำ  นานาประการ  เพราะฉะนั้นมารดาบิดา  จึงชื่อว่าบุรพาจารย์  อาจารย์คนแรกของลูก

    มารดาบิดาชื่อว่าอาหุเนยยบุคคล  คือบุคคลผู้ควรรับของที่บุตรนำมาให้  แม้จากที่ไกล  มีข้าว  น้ำ
อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น  ทั้งนี้เพราะมารดาบิดาเป็นผู้มีอุปการคุณแก่บุตร  มีการให้อาหาร เป็นต้น  เป็นผู้
มุ่งประโยชน์แก่บุตรเทียบเท่ากับพระอรหันต์ทั้งหลาย  กล่าวคือพระอรหันต์ท่านเป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาบูชา 
เคารพสักการะ  ฉันใด  มารดาบิดาก็เป็นผู้ควรแก่ของที่บุตรนำมาบูชา  มาเคารพสักการะ  ฉันนั้น  มารดาบิดาจึง
เป็นพระอรหันต์ประจำบ้านที่บุตรควรให้การอุปการะเลี้ยงดูด้วยข้าวน้ำ  เป็นต้น  ด้วยเหตุนั้นมารดาบิดาจึงชื่อว่า
อาหุเนยยบุคคล  บุคคลผู้ควรแก่ของที่เขาคือบุตรนำมาบูชา

    นอกจากนั้นพระพุทธเจ้ายังตรัสว่า  มารดาเป็นมิตรในเรือนตน   ซึ่งรวมทั้งบิดาด้วย   เพราะมารดา
บิดาเป็นคู่คิดของบุตร  เป็นที่ปรึกษาของบุตร  เป็นที่บำบัดทุกข์ของบุตร  ขอเพียงให้บุตรได้ไว้ใจท่านปรึกษาหา
รือท่านเท่านั้น

    มารดาบิดาพร้อมอยู่เสมอที่จะช่วยลูกทั้งในด้านความคิดและโภคทรัพย์  หากเกินกำลังของท่าน  ท่าน
ก็เสาะหาผู้ที่มีกำลังกว่าให้ช่วยแทน  ท่านไม่เคยทอดทิ้งลูกแม้ในยามยาก  ท่านจึงเป็นมิตรแท้ของลูกยิ่งกว่ามิตร
คนใด  มารดาบิดาจึงเป็นผู้มีอุปการะมาก  หาผู้เสมอเหมือนมิได้  เป็นผู้สมควรที่ลูกๆ  จะได้อุปการะตอบแทนคุณ
ท่านจนถึงที่สุด  โดยเฉพาะในเวลาแก่เฒ่า  ดูแลเอาใจใส่รักษาพยาบาลท่านในยามเจ็บไข้  แม้ท่านล่วงลับไปแล้ว 
ก็ยังพิ่มบุญให้ด้วยการทำบุญอุทิศให้ท่านได้ชื่นชมอนุโมทนา

    การเลี้ยงดูมารดาบิดา  ตลอดจนตอบแทนคุณท่านโดยประการอื่น  มีการช่วยทำกิจการงานแทนท่าน 
ช่วยรักษาวงศ์ตระกูลไว้ให้ดี   ประพฤติตนให้สมควรที่จะรับทรัพย์มรดกต่อจากท่าน   ตลอดจนทำบุญอุทิศไปให้
ท่านเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว  เหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของบุตรที่ดีจะพึงกระทำต่อมารดาบิดา  บุตรคนใดทำได้อย่าง
นี้  บุตรคนนั้นชื่อว่าได้ตอบแทนคุณมารดาบิดาที่ท่านให้ชีวิตมา  จัดเป็นกตัญญูกตเวทีบุคคล  ผู้หาได้ยากในโลก 
และเป็นผู้ที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญ  แม้ละโลกนี้ไปแล้ว  ก็ย่อมบันเทิงในสวรรค์

    ลูกที่ดูแลเลี้ยงดูมารดาบิดาด้วยความรักความเมตตา  กตัญญูกตเวที  ย่อมได้รับผลที่น่าพอใจทั้งใน
โลกนี้และโลกหน้า  ฉันใด   ลูกที่ประพฤติผิดในมารดาบิดา   ก็ย่อมได้รับผลที่ตรงกันข้าม  ทั้งในโลกนี้และโลก
หน้า  ฉันนั้น  คือเป็นผู้ถูกนินทาในโลกนี้  เป็นผู้เกิดในอบายในโลกหน้า  ยิ่งทำผิดร้ายแรงถึงกับฆ่ามารดาบิดา 
ยิ่งโทษหนักมาก  เทียบเท่ากับฆ่าพระอรหันต์ทีเดียว  เพราะการฆ่าพระอรหันต์เป็นอนันตริยกรรม ให้ผลนำเกิด
ในอเวจีนรกทันทีที่ตายลง  ฉันใด  การฆ่ามารดาบิดาก็จัดป็นอนันตริยกรรม  ที่ให้ผลนำเกิดในอเวจีนรกทันทีที่
ตายลง ฉันนั้น  ไม่มีกรรมอื่นจะสามารถแซงให้ผลก่อนได้  แม้จะสำนึกผิดและทำกุศลมหาศาลเพื่อทดแทนความ
ผิดนั้น  ก็ไม่อาจปิดกั้นอนันตริยกรรมที่จะให้ผลก่อนได้

    การเลี้ยงดูมารดาบิดา  เป็นคุณธรรมข้อหนึ่งใน    ข้อที่ทำให้เกิดเป็นพระอินทร์เป็นใหญ่กว่าเทวดา
ทั้งปวงในภพดาวดึงส์   เป็นพระราชาของเทวดาในภพนั้น  เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า  การบำรุงเลี้ยงดู
มารดาบิดาเป็นอุดมมงคล  เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ  ลองสังเกตุดูเถิดลูกคนใดที่กตัญญู  รู้คุณมารดาบิดา 
ลูกคนนั้นย่อมมีความสุขความเจริญไม่ตกต่ำจนตลอดชีวิต

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ธรรมะ    ประการคือ  อายุ  วรรณะ  สุขะ  พละย่อมเจริญแก่ผู้มีปกติกราบไหว้ 
อ่อนน้อมต่อผู้เจริญคือผู้ใหญ่เป็นนิตย์  ผู้ที่กระทำการกราบไหว้  อ่อนน้อมต่อมารดาบิดาเป็นนิตย์ก็ย่อมได้รับพร 
  ประการนี้เช่นกัน

    คนที่ทำความดีมีการเลี้ยงดูมารดาบิดาเป็นต้นนั้น  อย่าว่าแต่คนด้วยกันจะยกย่องสรรเสริญ  ชื่นชม
อนุโมทนาเลย  แม้เทวดาทั้งหลายเมื่อทราบก็ยกย่องสรรเสริญและชื่นชมอนุโมทนาเช่นกัน

    ใน  ราชสูตร  อังคุตตรนิกาย  ติกนิบาต  ข้อ  ๔๗๖  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าว่า  ในวัน ๘ ค่ำ 
เทวดาผู้เป็นบริวารของท้าวจาตุมหาราช  ย่อมท่องเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่าในหมู่มนุษย์  มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา 
เกื้อกูลแก่บิดา  เกื้อกูลแก่สมณพราหมณ์  อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล  อธิษฐานอุโบสถ  ปฏิบัติทำบุญมีอยู่หรือไม่ 
ในวัน ๑๔ ค่ำ  พวกโอรสของท้าวจาตุมหาราช  ย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ฯลฯ  ปฏิบัติทำบุญมีอยู่หรือไม่  ในวัน ๑๕
ค่ำ  ท้าวจาตุมหาราชย่อมท่องเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่าในหมู่มนุษย์  มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา  เกื้อกูลแก่บิดา  เกื้อ
กูลแก่สมณพราหมณ์  อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล  อธิษฐานอุโบสถ  ปฏิบัติทำบุญมีอยู่หรือไม่

    ถ้าเทวดาเหล่านั้นเห็นมนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา  เกื้อกูลแก่บิดา  เกื้อกูลแก่สมณพราหมณ์  อ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ในสกุล   อธิษฐานอุโบสถ   ปฏิบัติทำบุญมีน้อย   เทวดาเหล่านั้นย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้นแก่พวก
เทวดาชั้นดางดึงส์  ที่มาประชุมกันอยู่ในสุธรรมสภาให้ทราบ  พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ฟังแล้วย่อมเสียใจว่า  คนที่
จะมาเกิดในสวรรค์มีน้อย  คนที่จะเกิดในอบายมีมาก

    จากพระพุทธดำรัสนี้  จะเห็นได้ว่า  คนที่ทำความดีมีการเลี้ยงดูมารดาบิดาเป็นต้น  ย่อมเป็นที่รักที่ชื่น
ชมของเทวดา  เป็นปัจจัยให้เทวดาเกิดกุศลจิต  ยินดีอนุโมทนา

    อย่าลืมว่า  การตอบแทนคุณมารดาบิดา  ด้วยการประพฤติปฏิบัติตัวดี   มีศีลธรรม   มีกตัญญูกตเวที 
เป็นการตอบแทนคุณ  ที่ทำให้มารดาบิดาชื่นอกชื่นใจ  ยิ่งกว่าหยิบยื่นเงินทองให้เสียอีก  แต่มารดาบิดาจะชื่นใจ
ยิ่งกว่านั้น  หากลูกได้หยิบยื่นอริยทรัพย์  คือ  ศรัทธา  ศีล  จาคะ  ปัญญาให้แก่ท่าน  ถ้าท่านยังขาดอริยทรัพย์เหล่า
นั้น  ด้วยว่าทรัพย์ภายนอกมีแก้วแหวนเงินทองเป็นต้น  ถึงจะเป็นของมีค่า  แต่ก็ยังมีค่าน้อยกว่า  อริยทรัพย์  ทั้งนี้
เพราะทรัพย์ภายนอกอาจสูญหายไปได้ด้วยภัยนานาประการ  มีโจรภัย  อัคคีภัย  อุทกภัย  เป็นต้น   หรือแม้ทรัพย์
เหล่านั้นยังอยู่มิได้สูญหายไปด้วยภัยดังกล่าวนั้น  ถึงกระนั้นทรัพย์เหล่านั้นก็เป็นเจ้าของเพียงชั่วชีวิตนี้เท่านั้น  เมื่อ
ละโลกนี้ไปก็จะต้องทิ้งทรัพย์เหล่านั้นไว้เป็นสมบัติของผู้อยู่หลัง  แต่ทรัพย์ภายในมีศรัทธาเป็นต้น  มิได้เป็นเช่นนั้น
ย่อมเป็นของเราตลอดไป  ถึงเราจะละโลกนี้ไปแล้ว  ก็ยังติดตามไปให้ความสุขแก่เราในโลกหน้า  เป็นเสบียงเดิน
ทางไปในปรโลก  ตราบเท่าที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏอันยาวไกลนี้

    ด้วยเหตุนี้  บุตรที่ชักนำหรือหยิบยื่นอริยทรัพย์  มีศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นต้นให้แก่มารดาบิดา 
จึงจัดเป็นบุตรที่เลิศ  เป็นอภิชาติบุตร  ประเสริฐสุดในบรรดาบุตรทั้งหลายที่เลี้ยงดูมารดาบิดา
     การเลี้ยงดูมารดาบิดา  จึงเป็นอุดมมงคล

๑๓.  การสงเคราะห์บุตรและภรรยา  
    ขยายความมงคลข้อที่ ๑๓  การสงเคราะห์บุตรและภรรยา  ก็จัดเป็นอุดมมงคลอีกประการหนึ่ง 
โดยปกติแล้ว  มารดาบิดาย่อมเลี้ยงดูบุตรชายหญิงด้วยจิตเมตตา  ยามเล็กก็ให้นม  อาบน้ำ  ป้อนข้าวป้อนน้ำ 
ดูแลมิให้ยุงมดไรไต่ตอม  หาของเล่นมาให้  เมื่อโตการให้การศึกษา  หาสามีภรรยาให้  ยกมรดกให้  ที่สำคัญ
คือพร่ำสอนให้บุตรเป็นคนดี  มีศีลมีธรรม  ชักชวนให้ทำแต่บุญกุศล  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่ามารดา
บิดาพึงอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕๑ คือ
    ๑.  ห้ามไม่ให้บุตรทำชั่ว
    ๒.  สอนให้ตั้งอยู่ในความดี
    ๓.  ให้ศึกษาศิลปวิทยา
    ๔.  หาสามีภรรยาให้เมื่อถึงวัยอันสมควร
    ๕.  มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร  การสงเคราะห์บุตรอย่างนี้จัดเป็นอุดมมงคล
๑.สิงคาลกะสูตร  ที.  ปาฏิกวรรค  ข้อ  ๑๙๙


    ส่วนการสงเคราะห์ภรรยานั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงหน้าที่ของสามีที่มีต่อภรรยาไว้  ๕๑ 
สถานคือ
    ๑.  ยกย่องว่าเป็นภรรยา
    ๒.  ไม่ดูหมิ่น
    ๓.  ไม่ประพฤตินอกใจ
    ๔.  มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้
    ๕.  ให้เครื่องแต่งตัว (ตามฐานะ)
๑.สิงคาลกะสูตร  ที.  ปาฏิกวรรค  ข้อ  ๒๐๑


    การสงเคราะห์บุตรและภรรยาด้วยสถาน ๕  เหล่านี้จัดเป็นการสงเคราะห์บุตรและภรรยาในปัจจุบัน
ชาตินี้เท่านั้น  จึงควรที่สามีจะได้สงเคราะห์บุตรและภรรยาในชาติหน้า  ด้วยการให้บุตรและภรรยา  มีศรัทธา
ในพระรัตนตรัย ๑  ให้มีศีล ๕  ศีล ๘  กุศลกรรมบถสิบ ๑  ให้ได้ฟังพระธรรมเทศนา ๑  ให้บริจาคทาน  มีข้าว
น้ำเป็นต้น ๑  สอนให้พิจารณาถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร ๑

    ส่วนภรรยาเมื่อได้รับการสงเคราะห์จากสามีแล้ว  ก็ควรปรนนิบัติสามีให้ดี  ให้ความเคารพนับถือ 
มารดาบิดาและญาติของสามี  มีใจซื่อตรงไม่นอกใจสามี  รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้  ไม่ให้เสียหาย  เป็นต้น

    ในเรื่องการสงเคราะห์บุตรให้เข้าถึงพระรัตนตรัย  อันเป็นการให้อริยทรัพย์แก่บุตรนั้น  ดูตัวอย่างได้
จากท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี   ที่จ้างบุตรชายของท่านผู้ไม่มีศรัทธาในพระรัตนตรัยให้ไปฟังธรรม  และรักษา
อุโบสถด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐  บุตรดีใจอยากได้ทรัพย์ก็ไปวัดรักษาอุโบสถ  แล้วไม่ฟังธรรม  นอนหลับเสียตลอดวัน 
รุ่งเช้าก็ไปรับทรัพย์จากบิดา  ต่อมาท่านเศรษฐีก็จ้างให้บุตรฟังธรรมแล้วจดจำมาบอกด้วย  จะให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ 
บุตรดีใจไปวัดฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า   พระองค์ทรงบันดาลให้เขาจำไม่ได้   เขาจึงต้องตั้งใจฟังหลายครั้งจน
จำได้  และเข้าใจซาบซึ้งในรสพระธรรม  เขาฟังไปกำหนดไปก็ได้สำเร็จโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลในพระ
พุทธศาสนา  รุ่งเช้าก็ติดตามพระพุทธองค์ไปบ้าน  บิดาก็ยื่นทรัพย์ให้ เขาละอายใจไม่รับทรัพย์จากบิดา  พร้อม
ทั้งเล่าว่า  ตนไม่ยินดีในทรัพย์ทั้งหลายแล้ว  เพราะได้ดวงแก้วอันประเสริฐคืออริยมรรค  ท่านเศรษฐีดีใจเป็นอัน
มาก  เพราะฉะนั้นการสงเคราะห์บุตรหรือภรรยาก็ตาม  หากสงเคราะห์ให้ได้อริยทรัพย์ ดังเช่นท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐีสงเคราะห์บุตรชายของท่าน  จึงจักชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์ที่ประเสริฐ  เลิศกว่าการสงเคราะห์อย่างอื่น

    การสงเคราะห์บุตรภรรยา  จึงจัดเป็นอุดมมงคลประการหนึ่ง
๑๔.  การงานไม่คั่งค้างอากูล 

    ขยายความมงคลข้อที่ ๑๔  การงานไม่คั่งค้างอากูลเป็นอุดมมงคล  การงานในที่นี้หมายถึงการงานที่
ไม่มีโทษ  เป็นการงานที่ไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน   หวังแต่จะให้งานนั้นนำความสุขความเจริญมาให้  เช่น
เป็นชาวนา   เมื่อถึงหน้าทำนา   ฝนตกมีน้ำพอเพียงก็ต้องรีบไถรีบหว่าน  ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง   จนกระทั่งน้ำแห้ง
ทำนาไม่ได้   ใครมีงานมีอาชีพอะไรที่เป็นอาชีพสุจริต   ก็ต้องขยันหมั่นเพียร   ทำงานตามอาชีพของตนให้สำเร็จ 
ลุล่วงไปโดยเรียบร้อย  ผู้ที่ขยันหมั่นเพียรทำการงานไม่คั่งค้างทำเสร็จตามเวลา  ย่อมได้รับประโยชน์มีการเป็นผู้
มีทรัพย์มาก  เป็นต้นในชาตินี้   ได้เป็นเทพบุตร  เทพธิดา   เสวยสุขสมบัติในสวรรค์ในชาติหน้า   สำหรับบุคคลที่
เจริญกัมมัฏฐาน  เจริญกัมมัฏฐานโดยติดต่อไม่ย่อท้อ  ก็ย่อมได้รับผลคือ  ฌาน มรรค ผล นิพพาน  เพราะฉะนั้น
ความขยันหมั่นเพียร  ทำการงานทุกชนิดที่ไม่มีโทษให้สำเร็จไม่คั่งค้างจึงเป็นอุดมมงคล   เพราะเป็นเหตุให้เกิด
ความสุขความเจริญ

๑๕.  ทาน การให้  
    ขยายความมงคลข้อที่ ๑๕  ทาน  การให้ทานเป็นอุดมมงคล  ทานนั้นมีทั้งอามิสทานและธรรมทาน 
การให้สิ่งของด้วยเจตนาที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้รับชื่อว่าทาน  ส่วนวัตถุที่ให้ทานท่านแสดงไว้ ๔ อย่างก็มี  คือ
อาหาร   เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย   และยารักษาโรค  แสดงไว้  ๑๐  อย่างก็มี  คือข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน (พาหนะ) 
ดอกไม้  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นั่ง  ที่นอน  และประทีปดวงไฟ  การให้ทานนั้นเป็นการสละละความตระหนี่ 
ความหวงแหนออกจากใจ

    ของที่นำมาให้ทานนั้น  นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับแล้ว ยังควรเป็นของที่หามาได้โดยสุจริต
ชอบธรรม  มิได้ลักขโมยหรือฉ้อโกงเบียดเบียนเอามา

    ทานที่จะมีผลมากย่อมต้องประกอบไปด้วย
    ๑.  เจตนาที่ดีทั้งเวลาก่อนให้  กำลังให้  และให้แล้วก็ยินดีไม่เสียดาย
    ๒.  ของที่นำมาให้ทานต้องของที่หามาได้โดยชอบธรรม  เช่นซื้อหามาด้วยเงินทองที่หามาได้โดยสุจริต 
ไม่ใช่หามาได้โดยไม่ชอบธรรม  เช่นฆ่าสัตว์  อามาให้  หรือลักขโมยเขามา  ฉ้อโกงเขามาให้ทาน  เป็นต้น
    ๓.  ผู้ให้ก็มีศีล  ผู้รับก็มีศีล

    สำหรับผู้ให้ทานย่อมได้รับอานิสงส์  ๕๑  ประการคือ
    ๑.  เป็นที่รักของชนเป็นอันมาก
    ๒.  สัตบุรุษผู้สงบมีพระพุทธเจ้า  เป็นต้น  ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
    ๓.  กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรขจายไป
    ๔.  ผู้ให้ทานย่อมไม่เหินห่างจากธรรมของคฤหัสถ์  คือ  ศีล ๕
    ๕.  ผู้ให้ทาน  ตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
๑.อัง.  ปัญจก.  ข้อ ๓๕


    ส่วนการให้ธรรม  จัดเป็นเลิศกว่าการให้อย่างอื่น  หากว่าการแสดงธรรมนั้นมุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่
ผู้ฟัง   และธรรมนั้นเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว   ว่าเป็นนิยยานิกธรรม   คือธรรมที่นำ
สัตว์ออกจากทุกข์หรือนำสุขมาให้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    ด้วยนี้  การให้ทานจึงเป็นอุดมมงคล

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เทวดาที่มาทูลถามปัญหาใน  กินททสูตร  สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค ข้อ
๑๓๘ ว่า

    บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง
    ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะผิวพรรณ
    ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข
    ให้ประทีปดวงไฟชื่อว่าให้ดวงตา
    ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกอย่าง  คือให้ทั้งกำลัง  วรรณะผิวพรรณ  ความสุข  และดวงตา

    ส่วนผู้ที่สอนธรรมชื่อว่าให้อมฤตธรรม  คือธรรมที่ไม่ตาย  เหมือนดังที่พระบรมศาสดาทรงพร่ำสอน
ธรรมแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย   อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายได้บรรลุอมฤตธรรม  คือนิพพานนับจำนวนไม่ได้ 
เพราะฉะนั้น  ธรรมทาน  จึงชนะการให้ทั้งปวง


http://www.96rangjai.com/merit/sacredlife.html#28