คนแห่กราบไหว้หลวงพ่อเพชร พระท้องแตก-กรมศิลป์ชี้ไม่เก่าถึงยุคสุโขทัย อาจอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์
จากกรณีชาวบ้าน
ต่างแตกตื่นหลวงพ่อเพชร พระประธานวัดบ้านแก่งใต้ อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์
หลังช่างมาบูรณะองค์พระและพระอุโบสถ
ก่อนพบบริเวณหน้าท้องพระประธานเกิดแตกหัก
แล้วมีพระพักตร์พระพุทธรูปศิลาแลงทรงเครื่องสมัยสุโขทัยโผล่ออกมา
สร้างความประหลาดใจให้กับชาวบ้านที่พบเห็น
ซึ่งคาดว่าเป็นหลวงพ่อเพชรองค์จริงที่ถูกสร้างครอบไว้ตั้งแต่ในสมัยกรุง
ศรีอยุธยา
ซึ่งกรมศิลปากรระบุเป็นแนวคิดของเจ้าอาวาสให้สร้างพระองค์ใหม่ครอบ
หวังรักษาพระองค์เดิมที่ชำรุดเอาไว้ด้านในองค์พระ
รอพิสูจน์อายุและความเก่าแก่ ตามที่เสนอไปนั้น
ความ
คืบหน้าวันที่ 8 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานจากวัดบ้านแก่งใต้ ว่า
ตลอดทั้งวันมีประชาชนจากทั่วสารทิศ กว่า 5,000 คน ทั้งในจ.อุตรดิตถ์
ต่างจังหวัด และกรุงเทพฯ ทยอยเดินทางมาสักการบูชาหลวงพ่อเพชรอย่างเนืองแน่น
มีการนำดอกไม้ธูปเทียนมากราบไหว้ขอพรและนำแผ่นทองมาปิดพระพักตร์พระพุทธรูป
โผล่ออกมา บางคนใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพเก็บเอาไว้เป็นที่ระลึก
พร้อมกับบูชาพระพุทธรูปจำลองหลวงพ่อเพชรขนาดต่างๆ นำกลับไปไว้บูชา
ทำให้บรรยากาศภายในวัดยังคงเนืองแน่นเป็นวันที่สาม
โดยทางวัดได้จัดวางกำลังเจ้าหน้าที่อป.พร. เพื่อรักษาความปลอดภัย
และจัดระเบียบประชาชนที่จะเข้าไปสักการะพระพุทธรูปภายในพระอุโบสถเนื่องจาก
มีคนจำนวนมากเดินทางมา ส่งผลทำให้การจราจรบนถนนสายบ้านแก่ง-พิชัย
ติดขัดมากกว่าทุกวันที่ผ่านมา
น.ส.ดวงกมล
ยุทธเสรี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (รามคำแหง) กรมศิลปากร กล่าวว่า
จากการตรวจสอบเศียรพระที่โผล่ออกมา คาดว่าเป็นพระสมัยสุโขทัย
พบเห็นเพียงพระพักต์ พระเศียร และเม็ดพระศกเส้นผมของพระพุทธรูป
นอกเหนือจากนี้ถูกปูนพอกปิดเอาไว้ ทำให้การศึกษาดูยากลำบาก
พระพุทธรูปที่เห็นไม่ใช่พระศิลาแลงทรงเครื่อง
และยังสรุปไม่ได้ว่าเก่าแก่แค่ไหน
สันนิษฐานได้ว่าเป็นพระพุทธรูปช่วงหลังสมัยรัตนโกสินทร์
สำหรับการก่อสร้างคาดว่าเป็นฝีมือช่างระดับท้องถิ่น
ส่วนที่ชาวบ้านบอกว่ามีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์อยู่ข้างในอีกชั้นหนึ่งนั้น
ไม่สามารถสรุปผลได้เช่นกัน
�เท่าที่ได้พูดคุย
กับทางคณะกรรมการวัดว่า ทราบว่าทางวัดจะยังไม่มีการโบกปูนปิดทับ
เพื่อต้องการให้ญาติโยมได้มากราบไหว้สักการะ
ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงงานกฐินของทางวัด
และจะพยายามรักษาสภาพเดิมของพระพุทธรูปเอาไว้ให้คงเดิมที่สุด�
น.ส.ดวงกมลกล่าว
ด้านนายสฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง
อาจารย์ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า
หลวงพ่อเพชรที่ปูนกะเทาะจนเห็นพระพักตร์พระพุทธรูปโบราณนั้น
ไม่น่าจะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง
เพราะพระสมัยสุโขทัยจะไม่นิยมทำทรงเครื่อง
และพระพักตร์ของพระพุทธรูปทรงเครื่องจะเป็นรูปไข่ดูงดงามกว่านี้
เห็นได้จากพระพุทธชินราช
แต่พระพุทธรูปโบราณในท้องหลวงพ่อเพชรมีลักษณะแบบพื้นเมือง
สาเหตุ
ที่มีพระโผล่กลางท้องหลวงพ่อเพชรนั้น
ตนสันนิษฐานว่าเป็นพระองค์เดิมแล้วมีการก่อพอกสร้างองค์พระขึ้นมาใหม่
เพื่อรักษาของเก่าเท่านั้น
คล้ายกับการสร้างเจดีย์เก่าแล้วสร้างพอกขึ้นมาใหม่
ซึ่งตามหลักโบราณคดีแล้วมีการพบลักษณะนี้
แต่คงไม่ใช่มีพระองค์ใหญ่แล้วนำองค์เล็กไปไว้ข้างในท้อง ทั้งนี้
สังเกตพระพักตร์ของพระพุทธรูปโบราณทั้งสององค์ มีความคล้ายกัน
แต่องค์ใหญ่จะปั้นเลียนแบบและเป็นฝีมือแบบท้องถิ่น
ถือเป็นแนวคิดของคนโบราณในการรักษาของเก่าที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว
หนังสือพิมพ์ ข่าวสด วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2555
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNME5EUXlPRGc0T0E9PQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น